เครื่องดื่มชูกำลัง (Energy Drink) เป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมของสารคาเฟอีนในปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัม ต่อ 1 ขวด (100 – 150 มิลลิลิตร) เครื่องดื่มชนิดนี้ส่วนใหญ่เน้นไปทางด้านพลังงาน โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องดื่มชนิดนี้จะนิยมดื่มในหมู่ผู้ใช้แรงงาน และคนที่ทำงานหนัก ต้องการพลังงานชดเชยกลับมา
ส่วนประกอบของ เครื่องดื่มชูกำลัง
ส่วนใหญ่ในเครื่องดื่มชูกำลังจะมีส่วนผสมที่สำคัญคือ สาร Xanthine (สารกระตุ้นระบบประ สาทชนิดหนึ่ง), วิตามิน บี และสมุนไพร บางยี่ห้อก็ใส่ส่วนผสมเพิ่มเติม เช่น Guarana (สารชนิดหนึ่งที่ได้จากพืช มีสรรพคุณกระตุ้นระบบประสาท) แปะก๊วย โสม บางยี่ห้อก็จะใส่น้ำตาลในปริมาณที่สูง บางยี่ห้อก็ถูกออกแบบให้มีพลังงานต่ำ แต่อย่างไรก็ตามส่วนผสมหลักของเครื่องดื่มชูกำลังก็คือ กาเฟอีน/คาเฟอีน (Caffeine) ซึ่งเป็นส่วนผสมชนิดเดียวกันกับกาแฟหรือชา
เครื่องดื่มชูกำลังส่วนใหญ่จะมีปริมาตร 237 มิลลิลิตรต่อขวด (ประมาณ 8 ออนซ์) มีสารคา เฟอีนประมาณ 80 มิลลิกรัมต่อ 480 มิลลิลิตร [ในประเทศไทยกำหนดให้มีส่วนผสมของสารคาเฟ อีนในปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัม ต่อ 1 ขวด (100 – 150 มิลลิลิตร)] โดยในการทดสอบสูตรของเครื่องดื่มชูกำลังนั้น กลูโคส มักเป็นส่วนผสมพื้นฐานของเครื่องดื่มชูกำลังเสมอ (ซึ่งผสมอยู่ในคา เฟอีน, ทอรีน (Taurine/กรดอะมิโนชนิดหนึ่งช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ), และสารกลูโคโน แล็คโทน/Gluconolactone/วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร)
ส่วนผสม เครื่องดื่มชูกำลัง
กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เครื่องดื่มชูกำลังมีส่วนผสมของกาเฟอีน/คาเฟอีนไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อขวด โดยถ้าเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมจะต้องมีปริมาณไม่เกินที่กระทรวงสาธารณสุขประ กาศ เช่น
- วิตามินบี 1 ในปริมาณไม่เกิน 0.5 – 20 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 ในปริมาณไม่เกิน 1.3 – 7.5 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 ในปริมาณไม่เกิน 10 – 38 มิลลิกรัม ฯลฯ
ข้อมูลบนฉลาก
จะต้องมีข้อมูลในฉลากดังนี้
- ต้องมีคำว่า “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมี ครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน
- เลขสารบบอาหาร (อ.ย./สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณ สุข)
- สถานที่ผลิตและจัดจำหน่ายโดยละเอียด
- ชื่อเครื่องดื่มพร้อมยี่ห้อ
- ส่วนผสมที่สำคัญในเครื่องดื่ม
- วัน เดือน ปี ที่ผลิต
ข้อดีของเครื่องดื่มชูกำลัง
นักวิจัยกล่าวว่า เนื่องจากเครื่องดื่มชูกำลังมีส่วนผสมของทอรีน (Taurine) ซึ่งสามารถลดอา การเมาค้าง ลดคอเลสเตอรอล แต่ก็มีบางรายอ้างสรรพคุณว่า ช่วยส่งกระแสความรู้สึกให้ไวขึ้น ซึ่งคล้ายกับสารในนมแม่ ทำให้เครื่องดื่มของเด็กบางยี่ห้อได้ใส่สารนี้เข้าไป และยังมีสารอาหารประเภทวิตามินอีกหลายแบบ เช่น
- วิตามินบี 6 ซึ่งช่วยบรรเทาการคลื่นไส้อาเจียน และ ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอา หารและแร่ธาตุแมกนีเซียม
- และวิตามินบี 12 ที่มีคุณสมบัติช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
สำหรับเครื่องดื่มชูกำลังบางยี่ห้อที่มีราคาสูง จะมีส่วนผสมของสารกลูโคโนแล็คโทน ซึ่งเป็นสารประกอบอีกชนิดหนึ่งของเครื่องดื่มชูกำลัง ช่วยทำให้ทุเลาอาการเหนื่อย ช่วยบำรุงข้อต่อส่วนต่างๆของร่างกาย
**โทษ/ผลกระทบของเครื่องดื่มชูกำลัง ด้านสุขภาพกาย นักวิชาการหลายท่านออกมากล่าวว่า โทษของเครื่องดื่มชูกำลัง ส่งผลกระทบร้ายแรงในด้านระบบประสาท เช่น กระสับกระส่าย มือเท้าสั่น โดยเฉพาะในเด็ก ในกรณีดื่มเครื่องดื่มชูกำลังร่วมกับสุรา จะทำให้เพิ่มอาการเมาเป็น 2 เท่า
ในปัจจุบันเครื่องดื่มชูกำลังเริ่มมีการอวดอ้างสรรพคุณมากขึ้น และส่วนผสมเครื่องดื่มชูกำลังก็ใส่ส่วนผสมที่มากขึ้น โดยเฉพาะคาเฟอีน กัวรานาที่มีปริมาณมากขึ้น ทำให้มีนักวิชาการออกมากล่าวว่า การดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมาก ๆ ในระยะเวลาติดต่อกันอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ระหว่างการทำงาน หรือ การขับขี่รถยนต์ ถ้าหากดื่มในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อจิตประสาท